
สำหรับผม เป้าหมายคือความฝันที่มีกำหนดเวลา
คุณอาจเคยได้ยินมาหมดแล้วว่าเป้าหมายต้องมีความเจาะจง วัดผลได้ บรรลุผลได้ สอดคล้องกับความเป็นจริง และอยู่ใน กรอบเวลา ผมไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับทุกข้อนี้ อย่างก็ข้อที่ว่าบรรลุผลได้ ผมคนหนึ่งเลยที่ไม่เคยตั้งเป้าหมายที่บรรลุผลได้ ผมตั้งเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ดูแล้วไม่น่าเป็นจริงได้เสมอ
แต่เพื่อทำให้เป้าหมายมีความหมาย เพื่อที่จะทุ่มเทเวลาและพลังที่จะต้องใช้เพื่อทำให้เป้าหมายเป็นจริง เป้าหมายต้องมีอีกลักษณะหนึ่งนั้นคือ เป้าหมายต้องมีความหมายสำหรับคุณ มีความหมายมากพอที่จะทนต่อการทดสอบของเวลา การเปลี่ยนแปลง และสิ่งที่ทำให้คุณวอกแวกที่ชีวิตมักจะส่งมาพิสูจน์คุณ เชื่อผมสิ ชีวิตมีวิธีในการจัดการกับสิ่งนั้น
นั่นคือเมื่อเป้าหมายอยู่เหนือปณิธานของคุณ และมีพลังที่จะเปลี่ยนอุปนิสัย ไลฟ์สไตล์หรือแม้แต่ความคิดของคุณ เพื่อที่จะปรับความคิดคุณให้เข้ากับเป้าหมายและทำให้เป็นจริง
เหมือนเช่นอุปนิสัยที่สองของ Stephen Covey ได้กล่าวไว้ว่า “เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ” เป้าหมายสุดท้ายของคุณต้องเป็นเป้าหมายที่เด็ดเดี่ยว ไม่เปลี่ยนแปลง
อีกหนึ่งสิ่งที่ควรจดจำคือแรงกระตุ้น เหตุผลเบื้องหลังการกำหนดเป้าหมายของคุณ สำหรับคนที่ได้อ่าน Simon Sinek ผมคือคนที่เชื่อเป็นอย่างมากกับการเริ่มต้นด้วยคำว่าทำไม
การเดินทางของผม: จากโซฟาสู่มาราธอน 250 กม
จุดเริ่มต้นของผมคืออย่างนี้ ผมทำงานวันละ 12 ชั่วโมง ไม่มีเวลาสำหรับสุขภาพและการออกกำลังกาย ในขณะที่ผมทำได้ตามเป้าหมายทั้งทางการเงินและอาชีพ แต่กลับไม่ได้สนใจความสำเร็จส่วนอื่นนอกจากงานเลย
เดือนสิงหาคม 2012 ผมนั่งรถเข็นไปเพื่อผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร ทำไมผมจึงไปถึงจุดนั้น ไม่กี่เดือนก่อนหน้านั้น ผมพยายามเพิ่มความคุ้มครองประกันชีวิต ผมอายุ 33 ปีในตอนนั้น ราคาประกันผมสูงกว่าคนทั่วไป 100 เปอร์เซ็นต์ กรมธรรม์ผมจะหมดอายุตอนผมอายุ 72 ปีเท่านั้น แต่บริษัทประกันชีวิตเห็นว่ามีโอกาสที่จะต้องจ่ายเงินให้ผมก่อนนั้นอีก ผลตรวจสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ และประวัติครอบครัวบ่งบอกอย่างนั้น
การผ่าตัดจึงเป็นการตัดสินใจที่จะทำเพื่อซ่อมแซมความเสียหายให้กลับมาดีเหมือนเดิมโดยเร็ว ผมรู้ว่าผมต้องเปลี่ยนไปใช้ไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพที่ดีหลังการผ่าตัดด้วย ซึ่งผมก็ทำ เริ่มต้นด้วยการออกกำลังกายสัปดาห์ละสามครั้งกับเทรนเนอร์ส่วนตัวและลงเอยด้วยการเทรนมากกว่า 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ผมยังจำได้ว่าตอนปี 2011 ผมอยากกระโดดร่มแบบแทนดั้มที่ดูไบมากๆ แต่ผมโดดไม่ได้เพราะน้ำหนักเกิน คุณต้องน้ำหนักน้อยกว่า 99 กิโลกรัมถึงจะได้โดด ดังนั้นเป้าหมายข้อแรกอย่างแท้จริงของผม คือ ลดน้ำหนักเหลือ 98 กิโลกรัมและสมัครกระโดดร่ม ในเดือนมกราคม 2013 ผมกระโดดลงจากเครื่องบิน ชัดว่าผมมารอดจากการกระโดดครั้งนั้น
สี่ปีต่อมา เส้นทางเพื่อความแข็งแรงของผมเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ในเดือนกันยายน 2017 ผมตั้งใจที่จะลงแข่งวิ่ง Marathon des Sables (MdS) ผมยังจำวันที่ผมตัดสินใจจะลงแข่งได้
ผมเพิ่งกลับมาจากคลาสครอสฟิตที่ยิมตอน 17.30 น. หลังจากพูดคุยหลังออกกำลังกายกับผู้ชายสองคนที่ผมคิดว่าบ้าบอ เพราะเพิ่งวิ่งจนครบระยะใน MdS ที่ไม่มีชื่อเสียงเลย และดูเหมือนจะเป็นการแข่งขันวิ่งที่โหดที่สุดในโลก
พวกเขาเล่าให้ผมฟังเกี่ยวกับประสบการณ์ทรหดตอนที่วิ่งข้ามทะเลทรายซาฮาราพร้อมกับกระเป๋าเป้ใส่สิ่งจำเป็นที่เพียงพอสำหรับการแข่งขันหกคืนเจ็ดวัน
ผู้จัดงานให้น้ำ 1.5 ลิตรทุก 10 ถึง 12 กิโลเมตร และต้องเตรียมเต็นท์สำหรับแปดคนให้พร้อมก่อนที่พวกเขาจะมาที่แค้มป์ ผมใช้คำว่า “เต็นท์” แบบเบาๆ พวกเขายังเล่าให้ฟังว่ามีเพื่อนคนหนึ่งทำไม้เท้าเดินป่าพังบนก้อนหินในวันแรก แล้วยังมีอีกคนต้องไปนอนที่เต็นท์พยาบาลจากภาวะขาดน้ำเมื่อสิ้นสุดวันแรก และต้องไปนอนให้น้ำเกลือ
ชายคนนี้เป็นชาวตะวันออกกลางและอาศัยอยู่ใน UAE ในทะเลทราย และเขาต้องเข้าไปนอนในเต็นท์พยาบาล [visual] ผมรู้สึกแปลกใจไปหมด พวกเขายังเล่าถึงโปรแกรมการฝึกอันทรหดตลอดหกเดือนก่อนวิ่ง และเวลาที่ต้องใช้ในการฝึกคนเดียวในทะเลทรายไม่ว่าสภาพอากาศจะเป็นอย่างไร พวกเขาบอกผมเกี่ยวกับเวลาที่ต้องใช้เพื่อฟื้นฟูการสูญเสียกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อทั้งหมดนั่นที่ต้องใช้เวลาสร้างหลายปี
และเพื่อให้ท้าทายยิ่งขึ้นไปอีก ถ้ายังท้าทายไม่พอ หนึ่งในนั้นเป็นนักบินอายุ 47 ปี ซึ่งเขาต้องการจัดการกับเรื่องนี้ไปพร้อมกับการฝึก อีกคนหนึ่งเป็นพ่อที่ทุ่มเทของลูกสามคน ต้องเจอกับการบาดเจ็บทุกชนิดจากการฝึกเพื่อเข้าร่วม MdS และเริ่มสามวันแรกของการวิ่งด้วยการเป็นหวัดที่ติดมาจากเที่ยวบินไปโมร็อกโกเพื่อแข่งขัน คือว่ามันว้าวมาก
ตอนที่ผมสมัคร MdS ผมไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการวิ่งหรืออะไรเลย ผมวิ่ง 10 กิโลเมตรที่โน่นบ้าง ที่นี่บ้างไม่กี่ครั้ง ผมก็รู้สึกเหมือนตัวขาดเป็นชิ้นๆ ผมเกลียดการวิ่ง ผมเลยคิดว่า MdS เป็นเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่พอสำหรับผมที่เอาชนะมัน หนึ่งในข้อกำหนดของ MdS คือต้องวิ่งถึงเส้นชัยในการแข่งมาราธอนมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ในเดือนมกราคม 2018 ผมวิ่งจนถึงเส้นชัยใน Dubai Marathon เพื่อจะได้มีคุณสมบัติลงแข่ง MdS มากกว่าเหตุผลอื่นใด
ทุกคนที่รู้จักผมคนเก่าที่อ้วนแล้วแต่ตกใจและรู้สึกดีที่ผมเข้าถึงเส้นชัย Dubai Marathon นั่นในเดือนมกราคม สำหรับผม Dubai Marathon เป็นเพียงขั้นหนึ่งที่ก้าวไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่า ในอีกประมาณสามเดือน ผมกำลังจะลงวิ่งมาราธอนติดกันอีกห้างานในทะเลทรายซาฮาร่า และหวังว่าผมคงไม่ตาย
ตั้งหลักชัยไปตามทาง แต่อย่าให้ความสำเร็จ (หรือไม่สำเร็จ ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม) ทำให้โมเมนตัมของคุณช้าลงหรือกั้นกลางโฟกัสของคุณต่อเป้าหมายใหญ่
การกำหนดเป้าหมายเป็นเรื่องส่วนบุคคล บางคนเชื่อในการตั้งเป้าหมายแล้วแบ่งปันกับผู้อื่น นำผู้คนมามีส่วนร่วมและนำพลังงานรวมกันจากทุกคนออกมาเพื่อช่วยกันทำให้เป้าหมายเป็นจริง นั่นคือสิ่งที่ผมเป็น ผมอยากจะประกาศให้โลกรู้เพื่อให้ผู้คนเห็นผมรับผิดชอบต่อสิ่งนั้น
ผมเขียนเป้าหมายของผมลงในกำแพงวิสัยทัศน์ของผมตอนที่เรียน ผมทำสัปดาห์ละหลายครั้ง ผมลบแล้วก็เขียนใหม่ ทำให้ฝังแน่นอยู่ในความคิดและทำให้ผมมุ่งมั่นที่จะทำเพื่อไปให้ถึงจุดนั้นทุกวัน การเห็นเป้าหมายทุกวันทำให้ผมตั้งคำถามว่าผมสิ่งที่ผมทำในวันนั้นกำลังนำผมไปสู่เป้าหมายใหญ่หรือไม่ ถ้าหากไม่ ผมจะไม่ทำต่อหรือทำให้น้อยลง เพราะการปรับเปลี่ยนเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และจำเป็นมาก
เป้าหมายเป็นสิ่งที่ช่วยผมสร้างแผนยุทธศาสตร์ไปสู่ชีวิตที่ผมต้องการเป็นและเป็นแสงนำทางให้ชีวิตผม

Rickson Joel D’Souza เป็นสมาชิก MDRT 16 ปีด้วยคุณสมบัติสมาชิกระดับ Court of the Table หนึ่งครั้งและคุณสมบัติสมาชิกระดับ Top of the Table 12 ครั้งจากดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่มีความเชี่ยวชาญการประกันชีวิตสำหรับผู้ลงทุนรายใหญ่ ตลอดระยะเวลา 12 ปีที่ผ่านมา เขาได้มุ่งเน้นไปที่การวางแผนทางการเงินและจัดหา กรมธรรม์การประกันชีวิตมูลค่าสูงสำหรับผู้ประกอบการและผู้บริหารที่มีรายได้สูง