• เกี่ยวกับ
  • เข้าร่วมเป็นสมาชิก
  • กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
+1 847 692 6378

325 West Touhy Avenue 
Park Ridge, IL 60068 USA

ติดต่อเรา

ลิงก์ที่เป็นประโยชน์

  • สำหรับบริษัท
  • MDRT Store
  • มูลนิธิ MDRT
  • MDRT Academy
  • MDRT Center for Field Leadership
  • Media Room

สถานที่ตั้งสาขา MDRT

  • Korea
  • Japan
  • Chinese Taiwan

ลิขสิทธิ์ 2025 Million Dollar Round Table®

การปฏิเสธความรับผิดนโยบายความเป็นส่วนตัว

การระบาดของโรคโควิด-19ได้ทิ้งบทเรียนที่ดีสำหรับทุกภาคส่วน ในกรณีธุรกิจประกันควรต้องประเมินและพิจารณาความเสี่ยง เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียเมื่อเผชิญกับความท้าทายในอนาคต 

โชคดีสำหรับตลาดประกันภัยที่แนวโน้มปี 2022 ดูน่ายินดี โดยการศึกษาของ Swiss Re Institute เผยว่าความต้องการประกันภัยทั่วโลกอาจเพิ่มขึ้นถึง 3.9% ซึ่งอาจหมายถึงหนึ่งในการเติบโตที่เร็วที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมประกันก็ว่าได้ 1 

ในด้านของประเทศไทย เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีขึ้นในปี 2022 ซึ่งนับเป็นข่าวดีสำหรับอุตสาหกรรมประกันภัยในแง่ของโอกาสการเติบโต อย่างไรก็ตาม บริษัทประกันทุกแห่งควรมุ่งพัฒนาความสามารถในการแข่งขันเพื่อรักษาฐานลูกค้า ด้วยการปรับตัวและรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้เท่าทันกับพฤติกรรมผู้บริโภครวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  

เพื่อให้เข้าใจอนาคตของการประกันภัยได้ดีขึ้น เราได้เตรียมแนวโน้มของธุรกิจประกันในปี 2022 มาวิเคราะห์ เพื่อให้คุณพร้อมปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ พฤติกรรมผู้บริโภค และนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 

  1. ความต้องการทำประกันที่เพิ่มขึ้นของคนไทยและภาคธุรกิจ: ในปัจจุบันประเทศไทยมีบริษัทประกันชีวิตเพียง 22 บริษัท เบี้ยรวมกว่า 600,000 ล้านบาท และประกันวินาศภัยมี 54 บริษัท เบี้ยรวมเพียง 260,000 2ล้านบาท ซึ่งส่งสัญญาณถึงโอกาสที่ดีในการขยายตลาดโดยรวม นอกจากนี้การระบาดของโรคโควิด-19 ได้ทำให้ผู้คนจำนวนมากหันมาตระหนักถึงความสำคัญของประกัน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของ ค่ารักษาพยาบาล ค่าวิจัย ค่าชดเชยเวลาขาดงาน ฯลฯ ที่ไม่คาดคิด และค่างานศพในบางกรณี โดยในกรณีส่วนใหญ่ จำนวนเงินเหล่านี้เกินงบประมาณของผู้ได้รับผลกระทบ จนทุกวันนี้บางคนไม่สามารถกลับมามีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้อีก ด้วยเหตุนี้ แนวโน้มในการป้องกันจึงมีความสำคัญมากขึ้นและการทำสัญญานโยบายต่าง ๆ เช่น ค่าประกันชีวิตและค่ารักษาพยาบาลที่สำคัญเพิ่มขึ้น และผู้ใช้มองว่าเป็นบริการที่จำเป็นมากขึ้น  

    นอกจากประกันสุขภาพที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในสองปีที่ผ่านมา ยังมีความต้องการใหม่ ๆ จากภาคธุรกิจ เช่น ประกันความปลอดภัยไซเบอร์ จากการเติบโตขอธุรกิจออนไลน์ ประกันพืชผลทางการเกษตรหรือการประมง โดยเฉพาะในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่จะสร้างความต้องการที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านของทรัพย์สินภาครัฐและภาคเอกชนที่ยังไม่ได้ทำประกัน โครงสร้างพื้นฐานและโครงการขนาดใหญ่ การขนส่งโดยสาร อาคารสาธารณะ สถานประกอบการความเสี่ยงสูง มากไปกว่านั้นยังมีเมกะเทรนด์ต่าง ๆ ของโลกที่มีอยู่ในประเทศไทยด้วย เช่น สังคมผู้สูงอายุ หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทำให้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับการทำประกันเพื่อลดความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น 

    ทั้งนี้จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ตัวแทนประกันจะหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อครอบคลุมความต้องการของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ให้มั่นใจว่าคนไทยทุกคนจะมีตัวเลือกความคุ้มครองที่เหมาะสมกับตัวเอง พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงประกันของผู้บริโภคและการเชื่อมต่อกับคู่ค้าเพื่อโอกาสทางธุรกิจ 

  2. การเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอล:  อุตสาหกรรมประกันภัยกำลังมุ่งสู่การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผ่านระบบดิจิตอล 100% เมื่อต้องเผชิญหน้ากับยุคเทคโนโลยี ผู้บริโภคมีความต้องการที่จะขอข้อมูลหรือรับบริการได้ทันทีและจากทุกที่ในโลก ในกรณีนี้ ตัวแทนประกันจำเป็นต้องใช้กระบวนการที่อนุญาตให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลของพวกเขาได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น แอพ หรือหน้าเว็บ เป็นต้น เพื่อปรับกระบวนการดั้งเดิมให้เหมาะสมกับยุคสมัยและก้าวเข้าสู่สภาพแวดล้อมที่เป็นอัตโนมัติและเป็นดิจิตอลมากขึ้น  

    “ไม่ว่าเราจะอยู่ไกลกันแค่ไหน เราก็สามารถที่จะเสนอขายประกันกับลูกค้าได้ สามารถที่จะยืนยันตัวตนเพื่อทำประกันได้ เทคโนโลยีมาช่วยธุรกิจประกันมาก ๆ เลย ยิ่งช่วงโควิดเราจะเห็น ได้ชัดเจนมากว่าคนไทยหรือคนทั่วโลกตื่นตัวกับการทำประกันเพื่อปกป้องความเสี่ยงมากขึ้น และด้วยสถานการณ์โควิดมันทำให้เราเจอกันไม่ได้ ดังนั้นการทำประกันภัย หรือการทำประกันชีวิตผ่านทางช่องทางออนไลน์ มันเป็นสิ่งที่เข้ามาช่วยธุรกิจของเราอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเสนอขายผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น LINE หรือผ่านทาง Zoom เป็น Web X และก็ในเรื่องของการยืนยันตัวตนผ่านระบบออนไลน์โดย OPT ผ่านโทรศัพท์ ซึ่งเข้ามาช่วยมาก ๆ และก็มีผลต่อการทำประกันของคนมาก ๆ เลยในตอนนี้” คุณวรรณวิมล หมอกมาก ผู้จัดการขยายงานและ สมาชิก MDRT กล่าว 

    โดยแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอลนี้นอกจะสอดคล้องกับวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่าง ไทยแลนด์ 4.0 แล้วยังเหมาะสมกับการใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นของประชากรไทยอีกด้วย โดยรายงานจาก Hootsuite เผยว่า ในปี 2021 มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 48.59 ราย คิดเป็น 69.5% ของประชากร ซึ่งนับเป็นการเติบโตกว่า 7.4% หรือผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นกว่า 3.4 ล้านคนเมื่อเทียบกับปี 2020 โดยคาดว่าตัวเลขนี้จะเติบโตอย่างมากในปีต่อ ๆ ไป3 

  3. ความเฉพาะเจาะจง (Personalization): บริษัทประกันภัยเริ่มปรับใช้ฐานข้อมูลของลูกค้าเพื่อสร้างความจำเพาะเจาะจง ซึ่งนำไปสู่การแนะนำเบี้ยประกันที่เหมาะสมกับลูกค้ามากที่สุด อย่างไรก็ตาม ในฐานะตัวแทนประกัน คุณก็มีอำนาจในการสร้างความเฉพาะเจาะจงให้กับลูกค้าของคุณเช่นกันเพื่อสร้างแผนทางเลือกต่าง ๆ และปรับให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของผู้มุ่งหวัง โดยไม่ต้องพึ่งวิทยาศาสตร์ ข้อมูลหรือโซลูชันที่ซับซ้อนที่บริษัทใหญ่ ๆ ใช้ในการระบุกลุ่มเป้าหมายของตน โดยคุณวรรณวิมลกล่าวเสริมว่า “ดิฉันมองว่าเทรนด์ต่อ ๆ ไป มันจะเป็นโลกของข้อมูลข่าวสารของฐานข้อมูล แล้วดิฉันว่าในเรื่องของเบี้ยประกันภัยอาจจะไม่ได้เป็นค่าเฉลี่ยรวมของทุกคนแล้วว่าจะต้องเบี้ยประกันเท่านี้อัตราการเสียชีวิต ค่าเฉลี่ยของคนทั้งประเทศเท่านี้ แต่ต่อไปดิฉันคิดว่า เบี้ยประกันแต่ละคนจะเหมาะสมกับลูกค้ามากขึ้น โดยคำนวณมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของลูกค้า หรือสุขภาพของลูกค้า อย่างตอนนี้ดิฉันว่ามีให้เห็นแล้วแหละว่าเบี้ยประกันสามารถคำนวณได้ในเรื่องของการออกกำลังกายของลูกค้าที่เก็บแต้ม ถ้าสุขภาพดี เบี้ยปีต่อไปก็อาจจะลดราคาลง แต่ต่อไปก็อาจจะเอาข้อมูลในเรื่องของไลฟ์สไตล์ หรือความเสี่ยงของลูกค้ามาช่วยในเรื่องการคำนวณเบี้ยประกันของลูกค้าให้เหมาะสมกับลูกค้ามากยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์สูงสุดกับตัวลูกค้า” กล่าวเมื่อพูดถึงอนาคตของการประกันภัยที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น 

สำหรับปี 2565 คาดว่าตลาดประกันภัยจะพัฒนาไปในเชิงบวก โดยมุ่งเน้นการมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าต่อไป พร้อมกำหนดเป้าหมายนโยบายที่จำเป็นจริง ๆ ในทางเดียวกัน อุตสาหกรรมประกันภัยจะยังคงเน้นส่งเสริมวัฒนธรรมและแนวคิดเชิงการป้องกันต่อไป เพื่อให้คนจำนวนมากขึ้นได้ทราบถึงความสำคัญของการสนับสนุนทางการเงินเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น เสียชีวิต เกิดอุบัติเหตุ เจ็บป่วย อุบัติเหตุ ฯลฯ พร้อมยอมรับการปรับใช้เทคโนโลยีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความครอบคลุม

 

Contact: MDRTeditorial@teamlewis.com 

มยุรา ไชยพร
มยุรา ไชยพร
10 ม.ค. 2565

แนวโน้มธุรกิจประกันไทยที่คุณควรรู้ในปี 2022

เพื่อให้เข้าใจอนาคตของการประกันภัยได้ดีขึ้น ค้นพบแนวโน้มของธุรกิจประกันในปี 2022 เพื่อให้คุณพร้อมรับมือกับสถานการณ์ พฤติกรรมผู้บริโภค และนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
โซลูชันประกันภัย
‌

ผู้เขียน

มยุรา ไชยพร