Log in to access resources reserved for MDRT members.
  • เรียนรู้
  • >
  • ค้นพบแนวโน้มสังคมสูงวัยของประเทศไทยและทำไมคุณควรคว้าโอกาสในการเจาะลูกค้ากลุ่มนี้
ค้นพบแนวโน้มสังคมสูงวัยของประเทศไทยและทำไมคุณควรคว้าโอกาสในการเจาะลูกค้ากลุ่มนี้
ค้นพบแนวโน้มสังคมสูงวัยของประเทศไทยและทำไมคุณควรคว้าโอกาสในการเจาะลูกค้ากลุ่มนี้

ส.ค. 30 2565

ค้นพบแนวโน้มสังคมสูงวัยของประเทศไทยและทำไมคุณควรคว้าโอกาสในการเจาะลูกค้ากลุ่มนี้

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคม "สูงวัย" อย่างเต็มตัว โดยคาดว่าจำนวนผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะนับเป็น 20% ของประชากรภายในปีนี้หรือปีหน้า ซึ่งส่งสัญญาณถึงแนวโน้มความต้องการของการวางแผนเกษียณอายุที่เพิ่มขึ้น

หัวข้อที่ครอบคลุม

ปัจจุบันประชากรสูงอายุของประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยประเทศไทยถือว่าได้ก้าวเข้าสู่สังคม "สูงวัย" (Aging Society) แล้ว ซึ่งหมายความว่า 10% ของประชากรมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และเป็นเช่นนี้มาตั้งแต่ปี 2005 ทั้งนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคม "สูงวัย" อย่างสมบูรณ์ (Aged Society) โดยคาดว่าจำนวนผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะนับเป็น 20% ของประชากรภายในปีนี้หรือปีหน้า หากแนวโน้มนี้ดำเนินต่อไป ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคม "สูงวัยมาก" (Super-Aged Society) ภายในปี 2031 ซึ่งหมายความว่า 28% ของประชากรจะมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ดังนั้นเมื่อประชากรมีอายุมากขึ้น แนวโน้มของความต้องการในการวางแผนเกษียณอายุและโซลูชันประกันภัยสำหรับผู้สูงวัยก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ค้นพบว่าเหตุใดคุณควรคว้าโอกาสจากแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุของประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ 

ประเทศไทยล้าหลังในเรื่องของการออมเงิน 

ผลวิจัยต่าง ๆ รายงานว่า ประเทศไทยจัดว่ามีระดับการออมทรัพย์ที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับหลายประเทศทั่วโลก จากการศึกษาที่จัดทำโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (Thailand Development Research Institute: TDRI) ในปี 2019 เผยว่า คนรายได้ปานกลางในเขตเมืองควรมีเงินออมประมาณ 4.3 ล้านบาทต่อครัวเรือน เพื่อให้แน่ใจว่ามีเงินสดเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายเมื่อถึงวัยเกษียณ สำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ห่างไกลคาดว่าจะต้องใช้เงินประมาณ 2.8 ล้านบาท โดยตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า จำนวนครอบครัวไทยที่สามารถเกษียณได้จากการมีเงินออมที่เพียงพอนั้นเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงมากสำหรับบ้านเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบัน นอกจากนี้ การสำรวจเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนไทยปี 2019 ของ TDRI พบว่า มีเพียง 120,000 ครอบครัวในไทยที่มีรายได้ 2.8 ล้านบาทขึ้นไป – ซึ่งนับเป็นเพียง 0.5% ของครัวเรือนทั้งหมด 

และด้วยข้อเท็จจริงที่น่าเป็นห่วงนี้ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่นักวางแผนทางการเงินควรนำเสนอแผนเกษียณอายุให้กับผู้มุ่งหวังกลุ่มนี้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้พวกเขาเข้าใจถึงผลกระทบของการขาดการวางแผนที่อาจส่งผลต่อความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีของพวกเขาในอนาคต 

ความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น 

ความต้องการสินค้าและบริการในตลาด “silver economy” หรือตลาดผู้สูงวัย กำลังเฟื่องฟูในประเทศไทย เช่นเดียวกับประเทศอาเซียนอื่น ๆ ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาประเทศอาเซียนได้เห็นการใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยจำนวนเงินที่ใช้จ่ายจากผู้สูงอายุในอาเซียน และกับผู้สูงอายุชาวไทย คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าอายุที่เพิ่มขึ้นของประชากร เป็นผลจากการเติบโตของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคและอาการป่วยเรื้อรัง และโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า  

ทั้งนี้ ความต้องการของประชากรสูงอายุ ได้แก่ ความมั่นคงทางการเงินและความปลอดภัยส่วนบุคคล สุขภาพจิตที่ดี ระบบการรักษาพยาบาลที่แข็งแกร่งและการตระหนักรู้ในตนเอง ถึงแม้ความต้องการเหล่านี้จะเป็นความต้องการพื้นฐาน แต่ก็ถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ลูกค้ากลุ่มนี้ควรได้รับคำแนะนำและการนำเสนอโซลูชันที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งการตอบสนองและการคาดการณ์พฤติกรรมและรูปแบบการใช้จ่ายที่เปลี่ยนไปของผู้สูงอายุ บ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนจากโซลูชันแบบดั้งเดิมเป็นโซลูชันแบบใหม่ที่เน้นนวัตกรรมที่ล้ำสมัยอีกด้วย  

ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมสูงวัย   

“ถ้าพูดถึงประกันและความมั่งคงทางการเงิน ต้องยอมรับว่าเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคสังคมสูงวัย นั่นหมายความว่า การวางแผนการเงินและการวางแผนประกันชีวิตจะมีบทบาทที่สำคัญอย่างมาก เพื่อให้สังคมและประเทศเดินหน้าต่อไปได้อย่างดี” สมาชิก MDRT คุณธิดารัตน์ ศักดิ์สยามกุล กล่าว “คนเราไม่ได้วางแผนให้ล้มเหลว แต่ล้มเหลวเพราะไม่ได้วางแผนต่างหาก ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างแรก คือลูกค้าทุกคนจะต้องมีแผนการเงินที่ตอบโจทย์เป้าหมายและไลฟ์สไตล์ของตัวเองที่ชัดเจน ซึ่งหน้าที่ของเรา ในฐานะที่ปรึกษาการเงินคือ ช่วยลูกค้าค้นหาเป้าหมายทางการเงินที่แท้จริง และคัดสรรสินค้าที่ตอบโจทย์กับเป้าหมายนั้น” โดยเธอได้ระบุโซลูชันที่นำเสนอให้กับลูกค้าในสังคมสูงวัย ดังต่อไปนี้ 

1. ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องที่สำคัญที่สุดอย่างแรก คือ ประกันสุขภาพ เพราะการวางแผนประกันสุขภาพต้องเพียงพอ ไม่เพียงแต่ในปัจจุบันแต่ต้องครอบคลุมถึงอนาคตด้วย (เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ) ดังนั้นการมีสุขภาพที่ด และการรักษาที่เหมาะสม จะเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้ามีคุณภาพชีวิตที่ดีและยืนยาว 

2. อีกอย่างที่แนะนำ คือ การวางแผนการเงินแบบกระจายความเสี่ยง และในสินทรัพย์ที่แตกต่างและหลากหลาย เพราะคนกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการคงอยู่ของเงินต้น มากกว่าการเติบโตของพอร์ท 

3. สุดท้าย คือ เรื่องของการส่งต่อ การวางแผนการเงินที่ดีจะสามารถส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่นได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด นั่นก็คือการประกันชีวิต ความสบายใจของคนที่จากไป และการดำรงอยู่ของคนที่ยังอยู่ เป็นสิ่งสำคัญของการวางแผนในเรื่องนี้ 

แนวโน้มและโซลูชันทั้งหมดเหล่านี้สามารถสร้างโอกาสสำหรับที่ปรึกษาในการนำเสนอโซลูชันให้กับลูกค้าในการวางแผนทางการเงินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และถึงแม้จะมีโซชลูชันใหม่ ๆ เข้ามาตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของลูกค้ากลุ่มนี้ แต่ก็ยังคงมีโอกาสในการพัฒนาการวางแผนที่ตรงจุดและดีขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เป็นประโยชน์ การสร้างการดำเนินงานที่สามารถรักษาและส่งมอบผลกำไรจากลูกค้าได้ตลอดชีวิตของพวกเขา ทั้งหมดนี้ต้องอาศัยการรวบรวมข้อมูล การออมเงินอย่างสม่ำเสมอ และการวางแผนทางการเงินหลังเกษียณที่มีประสิทธิภาพควบคู่ไปด้วย เพื่อให้สังคมและผู้สูงวัยในไทยสามารถสามารถเกษียณได้จากการมีเงินออมที่เพียงพอ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป 

Contact: MDRTeditorial@teamlewis.com