
จากข้อมูลของ GlobalData การเติบโตของอุตสาหกรรมประกันภัยโดยรวมของประเทศไทยจะนำโดยกลุ่มประกันชีวิตและบำนาญ ซึ่งคิดเป็นส่วนแบ่ง 69.3% ของ GWP ในปี 2021 อุตสาหกรรมประกันภัยมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นในปี 2022 โดยได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ความตระหนักด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้น และจำนวนประชากรสูงอายุของประเทศ ซึ่งช่วยตอกย้ำความต้องการของผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและสุขภาพ
รายงานโดย GlobalData ยังชี้ให้เห็นว่า personalization นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอลกำลังได้รับความสนใจในอุตสาหกรรมประกันชีวิตของประเทศไทย
แนวโน้มสำคัญที่ควรจับตามองในปี 2023
1. การเติบโตอย่างต่อเนื่องของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอล
ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ บริษัทประกันต่างหันมาใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ รายงานจาก GlobalData กล่าว
เสริมว่าเทเลเมติกส์และการประกันภัยตามการใช้งานเป็นสองโซลูชันหลักที่มีศักยภาพในการเติบโตอย่างมากในอุตสาหกรรมประกัน
ยกตัวอย่างเช่น เอไอเอ ประเทศไทย บริษัทประกันชีวิตรายใหญ่ที่สุดของประเทศ ประกาศเมื่อเดือนมีนาคม 2022 ว่าจะเพิ่มสถานะทางดิจิตอลเพื่อให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลง โดยแนะนำบริการดิจิตอลต่างๆ เช่น AIA iSign ซึ่งอำนวยความสะดวกในการซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตออนไลน์โดยไม่ต้องเผชิญหน้ากัน ปัจจุบันตัวแทนประกันชีวิตมากกว่า 54.4% ใช้ AIA iSign
ด้วยแอปพลิเคชัน และเครื่องมือที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้ที่ปรึกษาต้องหมั่นหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ พร้อมปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นการอัพเดทข่าวสารเกี่ยวกับ อินชัวร์เทค หรือการปรับใช้แกดเจ็ตต่าง ๆ ในการนำเสนอการขาย อย่างเช่นการใช้ iPad นำเสนอโซลูชัน และการเซ็นกรมธรรม์ผ่านแอปพลิเคชันก็ตาม เพราะยิ่งลูกค้ามีความรอบรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเท่าไหร่ ที่ปรึกษายิ่งต้องปรับตัวให้ทันเพื่อเจาะลูกค้ารุ่นใหม่กลุ่มนี้
สมาชิก MDRT คุณสุภารัตน์ ศรีสันติสุข กล่าวว่า “Digital Transformation ยังคงเป็นเทรนด์ต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของลูกค้าที่ต้องการการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนอย่างสะดวก ใช้งานง่าย รวดเร็วและตลอดเวลา ในส่วนของบริษัทประกัน การนำ Digital Technology มาใช้ จะช่วยลดต้นทุนการทำงานทุกด้านได้อย่างมหาศาล และในส่วนของที่ปรึกษาการเงิน Digital Technology ทำให้สามารถ Work Anywhere, Anytime มีเครื่องมือในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลที่ทันสมัย และเสริมความเป็นมืออาชีพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เหรียญมี 2 ด้านเสมอ ที่ปรึกษาทางการเงินจึงควรพัฒนาตัวเองให้ทันต่อ technology ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการถูก disrupt จาก technology ดังกล่าว”
2. สังคมผู้สูงอายุ
ประเทศไทยถือเป็นสังคมผู้สูงอายุที่เติบโตรวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยในปี 2021 เกือบ 20% ของประชากรมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 26.6% ภายในปี 2030 ซึ่งจะเข้ามาผลักดันการเติบโตของผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและสุขภาพในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
ทั้งนี้ โครงสร้างของอายุประชากรที่เปลี่ยนไปนี้ล้วนกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะเงินเฟ้อปัจจุบัน ทั้งต่อภาครัฐ จากการที่วัยแรงงานจะมีอัตราส่วนลดลงเพราะอัตราการเกิดต่ำและภาระการดูแลประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้นอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้ และภาคครัวเรือนที่ครอบครัวอาจตกอยู่ในภาวะไร้บุตรหลานและขาดแคลนทรัพย์สินที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในยามแก่
ดังนั้นที่ปรึกษาควรแนะนำให้ลูกค้าพิจารณาการวางแผนเกษียณตั้งแต่อายุยังน้อย และคอยเจาะกลุ่มตลาดผู้ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่วัยเกษียณ เพื่อรองรับแนวโน้มข้อนี้
3. การลงทุนภาครัฐที่เพิ่มขึ้น
การเพิ่มการลงทุนของภาครัฐในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของการประกันวินาศภัยในประเทศไทยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า การพัฒนาที่โดดเด่น ได้แก่ การอนุมัติโครงการเมืองอัจฉริยะมูลค่า 1.35 ล้านล้านบาท (3.7 หมื่นล้านดอลลาร์) และโครงการทางด่วนยกระดับกะทู้-ป่าตอง มูลค่า 1.45 หมื่นล้านบาท (440 ล้านดอลลาร์)
4. Cybersecurity thread
แนวโน้มการประกันภัยของโลกที่กำลังมาแรงอีกอย่าง คือความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ แม้ว่าจะเป็นภัยที่มีมาสักพักแล้ว แต่ปัจจุบัน ความถี่และความรุนแรงของการโจมตีแรนซัมแวร์ก็ยังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือระดับองค์กร ดังนั้น ความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงไม่ใช่ความเสี่ยงทางเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เป็นความเสี่ยงทางธุรกิจ
ประเทศไทยก็ไม่ต่างกัน โดยองค์กรประมาณ 88% ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการปฏิบัติงาน (Operational Technology: OT) ในประเทศไทย ต่างประสบปัญหาการบุกรุกทางไซเบอร์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ตามรายงานของ Fortinet ซึ่งเป็นบริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก
โดยภัยคุกคามทั้งหมดนี้ ทำให้ที่ปรึกษาต้องสร้างความรอบรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อที่จะดำเนินการด้วยความรวดเร็ว และสามารถช่วยเหลือลูกค้าได้อย่างทันท่วงที ในปี 2023 ระบบนิเวศน์ข้อมูลและเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจน่าจะเป็นศูนย์กลางของการดำเนินงานที่ยืดหยุ่นและคล่องตัว
รายงานจาก GlobalData สรุปว่า อัตราการเจาะตลาดประกันของไทยอยู่ที่ 5.5% ในปี 2022 ซึ่งสูงกว่าการเจาะตลาดเกิดใหม่ เช่น จีน (4.4%) อินเดีย (4.1%) อินโดนีเซีย (1.5%) เวียดนาม (3.3%) และ ฟิลิปปินส์ (1.7%) โดยความนิยมของผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ประชากรสูงอายุ และนวัตกรรมในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ คาดว่าจะขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมประกันภัยไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า
“สำหรับปี 2566 จะเน้นการนำ Financial Planning Program มาใช้ในการให้คำปรึกษาแก่ลูกค้ามากขึ้น เน้นการทำ Digital Marketing และพัฒนาการทำงานในองค์กรให้เป็นระบบ และทันสมัย เพื่อตอบรับที่ปรึกษาการเงินรุ่นใหม่ที่จะเข้ามาร่วมงานกันในอนาคต” คุณสุภารัตน์ กล่าวปิดท้าย
Contact: MDRTeditorial@teamlewis.com