Log in to access resources reserved for MDRT members.
  • เรียนรู้
  • >
  • สนับสนุนการตระหนักรู้แต่แรกเริ่มและชุมชน
สนับสนุนการตระหนักรู้แต่แรกเริ่มและชุมชน
สนับสนุนการตระหนักรู้แต่แรกเริ่มและชุมชน

พ.ย. 01 2566 / Round the Table Magazine

สนับสนุนการตระหนักรู้แต่แรกเริ่มและชุมชน

การตรวจหาพบมะเร็งเต้านมและกลุ่มช่วยเหลือได้รับเงินช่วยเหลือจากมูลนิธิ MDRT

หัวข้อที่ครอบคลุม

เมื่อ Tuty Effendy ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมในช่วงอายุสามสิบต้น ๆ ในปี 2000 ครอบครัวและเพื่อนต่างให้กำลังใจเธอ แต่เพราะไม่มีใครมีประสบการณ์แบบเธอมาก่อน Effendy ซึ่งเป็นสมาชิก MDRT ปีแรกในปี 2022 จากจาร์กาตา อินโดนีเซียยังคงรู้สึกโดดเดี่ยว

ซึ่งเป็นเหตผลที่หลังจากพบกับหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Lovepink, Effendy จึงเข้ามามีส่วนร่วมในองค์กร์ ซึ่งตั้งแต่ปี 2014 ได้สนับสนุนให้มีการตรวจหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น และให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น และปีนี้ได้รับทุนสากลจากมูลนิธิ MDRT มูลค่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ “ฉันสัญญากับตัวเองว่าหากพระเจ้ารักษาให้ฉันหาย ฉันจะแบ่งปันประสบการณ์และของขวัญกับคนที่กำลังเผชิญกับสิ่งที่ฉันเคยพบเจอ” Effendy ที่รับการรักษาครบแล้วในปี 2001 กล่าว “ฉันรู้สึกเหมือนฝันทั้งหมดเป็นจริงที่ Lovepink”

ทั้งหมดนี้มาจากผู้ที่ไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับการตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จนกระทั่งได้รับโบรชัวร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเดือนแห่งการรณรงค์ต่อต้านโรคมะเร็งเต้านม เมื่อเธออยู่ในสิงคโปร์สำหรับการผ่าตัดเต้านมออกทั้งเต้าในเดือนตุลาคม 2000 ในทศวรรษที่ผ่านมา Effendy เห็นผู้หญิงในอินโดนีเซียต่อต้านการรักษาด้วยยาและเคมีบำบัดหลังการวินิจฉัย เพราะพวกเธอไม่ต้องการผ่าตัด ซึ่งเป็นเหตุให้มะเร็งลุกลาม

หากเธอได้รับการช่วยเหลือที่ตอนนี้เธอให้ Effendy กล่าว เธอจะได้รับประสบการณ์ที่คนที่ได้รับความช่วยเหลือโดย Lovepink ได้รับ คือ “ตอนแรกพวกเธอรู้สึกกลัว” เธอกล่าวเมื่อคิดถึงผู้หญิงคนหนึ่งที่กลัวที่จะรับเคมีบำบัดหรือการผ่าตัด “แต่หลังจากเป็นส่วนหนึ่งของ Lovepink และได้ยินการรับรองการรอดชีวิตของฉัน พวกเธอเห็นความหวัง”

จุดเริ่มต้นเล็ก ๆ

สิบปีที่แล้ว ก่อนที่ Lovepink จะจดทะเบียนเป็นมูลนิธิ Effendy นำการแชทของคน 50 คนผ่าน Blackberry ทำตัวเป็นแบบอย่างสำหรับผู้ที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัย ในตอนนี้ เธอคือส่วนหนึ่งของกลุ่ม Lovepink ใน WhatsApp ที่แบ่งเป็นแชทมากมายที่มีคน 200-300 คน แชทหนึ่งมีแบนเนอร์เรียกว่านักรบ สำหรับผู้ที่กำลังรับการรักษามะเร็งเต้านม อีกแชทเรียกว่าผู้รอดชีวิต สำหรับผู้ที่การรักษาเสร็จแล้ว Effendy ผู้ที่ทำหน้าเป็นเลขานุการให้กับองค์กรตั้งแต่ปี 2014-2019 โดยจัดการขั้นตอนด้านธุรการและการประสานงานกับบุคคลภายนอก เช่น ผู้บริจาคและองค์กรด้านสุขภาพ และเป็นวิทยากรในปี 2019 สนับสนุนทั้งสองกลุ่ม ตอบคำถาม และแบ่งปันประสบการณ์ในการรักษา ผลข้างเคียงและอื่น ๆ

ผู้เข้าร่วม Lovepink มักได้ข่าวเกี่ยวกับองค์กรจากปากต่อปาก ไม่ว่าผ่านเพื่อน ครอบครัว หรือแม้แต้ผู้หญิงที่พวกเธอพบขณะไปรับการรักษา เนื่องจาก Effendy อยู่ใกล้ศูนย์มะเร็งที่ใหญ่ที่สุดในจาร์กาตา เธอจึงเป็นคนหนึ่งที่มักแวะไปเยี่ยมผู้หญิงที่เพิ่งเข้ารักษาในโรงพยาบาล เมื่อผู้หญิงที่อยู่คนเดียว ไม่มีใครเป็นเพื่อนมาตรวจสุขภาพ Effendy ไปเป็นเพื่อนเธอ การให้กำลังใจเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของ Lovepink พร้อมกับเป้าหมายในการลดมะเร็งเต้านมระยะลุกลามภายในปี 2030 ผ่านการให้ความรู้เรื่องการตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรกโดยการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองและการตรวจอัลตราซาวด์

การเข้าถึงที่กว้างไกลกว่าที่เคย

แน่นอนว่าส่วนหนึ่งของพันธกิจของ Lovepink ไม่ใช่การเข้าถึงผู้หญิงหนึ่งคนในหนึ่งเวลา แต่คือการเชื่อมโยงกับพวกเธอและช่วยกลุ่มใหญ่ เพื่อที่จะให้บรรลุเป้าหมายนี้ เงินช่วยเหลือมูลนิธิ MDRTจะสนับสนุนโครงการของ Lovepink ที่ให้บริการอัลตราซาวด์ฟรีแก่ผู้หญิงที่มีเงินไม่พอ การทำงานร่วมกับโรงพยาบาลในหลายเมืองของอินโดนีเซีย เป้าหมายของโครงการคือช่วยเหลือผู้หญิง 10,000 คน ใน 2022 มีผู้หญิงที่ได้รับบริการนี้ประมาณ 2,500 คน ความพยายามนี้คือส่วนขยายของโครงการระยะยาว Pink Van ที่ได้รับการสนับสนุนจากอาสาสมัครรังสีแพทย์ที่ช่วยใช้อุปกรณ์อัลตราซาวด์เคลื่อนที่ เพื่อเป็นการนำบริการไปสู่ชุมชนต่าง ๆ

เมื่อ Effendy ช่วยอบรมสมาชิก Lovepink ที่ต้องการเป็นอาสาสมัคร (สมาชิกคณะกรรมการขององค์กรและอาสาสมัครส่วนใหญ่เป็นผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านม) พวกเธอได้รับการอบรมให้พูดเกี่ยวกับความสำคัญของการตรวจพบในระยะเริ่มต้น และยังเพื่อการทำงานกับแพทย์ที่ทำการอัลตราซาวด์ ซึ่งสามารถตรวจได้ถึง 15-50 คนต่อวันในแต่ละพื้นที่

ในทำนองเดียวกัน ตลอดปี Effendy และที่เหลือของนักกิจกรรม Pink Squad ของ Lovepink จะพยายามเผยแพร่ใจความและการบริการของตน รวมถึงการทำงานล่าสุดที่โบโกร์ อินโดนีเซียที่มีผู้หญิง 100 คนได้รับการอัลตราซาวด์ต่อวันเป็นเวลาห้าวันติดต่อกัน ระหว่างเดือนเดือนแห่งการรณรงค์ต่อต้านโรคมะเร็งเต้านมทุกเดือนตุลาคม Lovepink เป็นเจ้าภาพวิ่งหรือเดินเพื่อระดมทุนในงานชื่อว่า “Jakarta goes pink” รวมถึงกิจกรรมอื่นที่ช่วยให้ความรู้ว่าการตรวจพบในระยะเริ่มต้นช่วยชีวิตได้อย่างไร

“ฉันมีชีวิตอยู่เพื่อพิสูจน์ว่ามะเร็งเต้านมไม่ใช่อวสานของโลกนี้” Effendy กล่าว “คุณหายได้ด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งและการรักษาที่ดี”

Contact

Tuty Effendy tuty.effendy@gmail.com