
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราประชากรสูงวัยเติบโตเร็วที่สุดในโลก โดย ERIA (Economic Research Institute for ASEAN and East Asia) คาดการณ์ว่า สัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นจาก 13% ในปี 2553 เป็น 33% ในปี 2583 โดยในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา องค์ประกอบของประชากรไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเนื่องจากภาวะเจริญพันธุ์ที่ลดลงและการสูงอายุของประชากร ทั้งนี้สังคมสูงวัยของประเทศไทยเผชิญกับความท้าทายมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนไทยสูงอายุที่ยังต้องทำงานหาเลี้ยงชีพเนื่องจากเงินออมไม่เพียงพอ อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของอายุขัย หมายความว่าผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะสามารถทำงานได้นานขึ้น ซึ่งส่งสัญญาณถึงแนวโน้มในการเติบโตของแรงงานสูงวัยอย่างเป็นลำดับ
นอกจากนี้ อีกหนึ่งปัจจัยที่ผู้สูงอายุต้องคำนึงถึงเมื่อพิจารณาการเกษียณ คือเงินบำนาญในประเทศไทย ซึ่งมีอัตราค่อนข้างต่ำหากเทียบกับมาตรฐานสากล และมีความจำเป็นที่ต้องปรับโดยทันทีเพื่อรองรับการใช้จ่ายให้เหมาะสมและมีความเสมอภาคตามประชากรที่มีอายุสูงขึ้น ทั้งยังมีภาวะเงินเฟ้อที่ทำให้เงินออมของแรงงานสูงวัยหลายคนไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต จึงจำเป็นต้องเลื่อนกำหนดการเกษียณไปเพื่อสร้างกองทุนที่เพียงพอในอนาคต
เป้าหมายทางการเงินที่แตกต่างกัน
ในขณะที่คนหนุ่มสาววัยทำงานอาจต้องวางแผนทางการเงินเพื่อบริหารพอร์ตการลงทุน เลี้ยงดูครอบครัว สร้างบ้านใหม่ หรือเก็บเงินซื้อสิ่งของทั่วไป คนสูงวัยส่วนใหญ่มักมองหาความมั่นคงทางการเงินหลังเกษียณ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่ประชากรสูงอายุต้องดูแลตัวเองแทนการพึ่งพาลูกหลานในวัยทำงาน โดยข้อมูลจากกรมกิจการผู้สูงอายุรายงานว่า 36.7% ของผู้สูงอายุมีรายได้จากลูกหลาน และอีก 33.9% มาจากการทำงาน ซึ่งหมายความว่ายังมีเปอร์เซ็นต์ผู้สูงอายุอีกจำนวนมากที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากลูกกหลานและต้องพึ่งพาตนเองในวัยเกษียณ ทำให้การวางแผนทางการเงินที่มั่นคงเป็นสิ่งที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด โดยเฉพาะในภาวะเงินเฟ้ออย่างปัจจุบัน
สมาชิก MDRT คุณ กนกวรรณ ชลาลัยวิวัฒน์ กล่าวว่า “เนื่องจากช่วงวัยนี้มีข้อจำกัดเรื่องของระยะเวลาในการเก็บออมเงิน และการลงทุน เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงมุ่งหวังถึงความปลอดภัยของเงินต้น และความมั่นคงของแผนการเงิน ที่จะมั่นใจได้ว่าเขาจะสามารถไปถึงเป้าหมายทางการเงินได้ ซึ่งแตกต่างจากลูกค้ากลุ่มอื่นตรงที่พวกเขามักต้องการความมั่นคงปลอดภัยของแผนการเงินมากกว่าผลตอบแทนที่หวือหวา”
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ที่ปรึกษาทางการเงินจะแนะนำโอกาสการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำให้แก่ลูกค้าใรกลุ่มแรงงานสูงวัย ตัวอย่างบางส่วนได้แก่:
- สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ มีสภาพคล่องสูง สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายในเวลาที่ต้องการใช้ เช่น เงินฝากออมทรัพย์, กองทุนรวมตลาดเงิน ประมาณ 20-40% หรือประมาณ 6-12 เท่าของค่าใช้จ่ายประจำ
- สินทรัพย์ที่เหมาะกับการลงทุนระยะกลาง เช่น สลากออมทรัพย์, พันธบัตรรัฐบาล, กองทุนตราสารหนี้, หุ้นกู้ ประมาณ 30-50%
- สินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูง แต่มีโอกาสได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น เช่น หุ้น, กองทุนรวมหุ้น, กองทุนอสังหาริมทรัพย์, ทองคำ ประมาณ 5-15%
ความคุ้มครองคือกุญแจสำคัญ
การเจริญอายุเข้าสู่สังคมสูงวัยย่อมมาพร้อมกับความเสี่ยงด้านสุขภาพและการเงิน ดังนั้นแรงงานสูงอายุและประชากรสูงอายุโดยทั่วไปจึงมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับการประกันสุขภาพและมาตรการรักษาความปลอดภัยอื่น ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาได้รับการคุ้มครองในสภาวะที่เปราะบางที่สุด
เมื่อพูดถึงความมั่นคงทางการเงิน คุณ กนกวรรณ กล่าวว่า “แรงงานสูงวัยมักมองหาการบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิด รายได้แบบพาสซีฟ (Passive Income) อย่างเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายหลังเกษียณ หลังจากที่ไม่ได้มี แอคทีฟอินคัม (Active Income) แล้ว และยังรวมถึงความต้องการมีประกันสุขภาพเพื่อปกป้องความเสี่ยง หลังจากที่ไม่ได้มีสวัสดิการจากองค์กรที่ทำงานแล้ว”
ดังนั้น การหาช่องทางของรายได้แบบพาสซีฟสำหรับลูกค้าสูงอายุของคุณจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของพวกเขาและช่วยให้พวกเขาสร้างรายได้มากขึ้น พร้อมช่วยกระจ่ายความเสี่ยงของรารับของพวกเขาอีกด้วย ตัวอย่างรายได้แบบพาสซีฟอาจรวมถึงการเช่าบ้านพักตากอากาศหรืออสังหาริมทรัพย์ ขายของออนไลน์ สร้างรายได้จากงานอดิเรก เช่น การถักนิตติ้งหรืองานศิลปะ หรือแม้แต่สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการทำแบบสำรวจที่ได้รับค่าตอบแทน เป็นต้น นอกจากนี้ คุณควรแนะนำประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับคนสูงวัยเพื่อเพิ่มผลประโยชน์สูงสุดแก่พวกเขา เช่น การทำประกันผู้สูงอายุทั้งสองรูปแบบอย่างประกันชีวิตและประกันสุขภาพ หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือ การเลือกประกันชีวิตสำหรับผู้สูงอายุที่พ่วงประกันสุขภาพเข้าไปด้วย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะได้สิทธิประโยชน์ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุของแบบประกันสุขภาพซึ่งเป็นเงื่อนไขเพิ่มเติม พร้อม ๆ กับสิทธิประโยชน์ของแบบประกันชีวิตที่มีอยู่เดิม
ปรับแนวทางการสื่อสารของคุณ
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เปลี่ยนวิธีการดำเนินงานของหลายอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมการเงินและการประกันภัยก็ไม่ต่างกัน แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้มีแนวโน้มที่จะเอื้อต่อคนรุ่นใหม่ แต่ประชากรสูงวัยมักจะประสบกับความท้าทายในการปรับตัวให้ทัน นัวตกรรม เครื่องมือ แนวโน้ม และความก้าวหน้าอื่น ๆ ในโลกการเงิน
ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นหน้าที่ของคุณที่จะต้องเชื่อมช่องว่างระหว่างวัยและนำเสนอเทรนด์ใหม่เหล่านี้แก่ลูกค้าที่มีอายุมากด้วยวิธีที่พวกเขาเข้าใจได้ง่าย “ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ตรงประเด็น ชัดเจน ไม่บิดเบือน และใช้วิธีการพิมพ์เอกสารเป็นกระดาษและไปพบเจอเพื่ออธิบายตัวจริง มากกว่าการส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต” คุณ กนกวรรณ กล่าวเสริม
การปรับแนวทางปฏิบัติสำหรับนักวางแผนการเงิน
ผลิตภัณฑ์ทางการเงินอาจเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจสำหรับหลาย ๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประชากรสูงวัย ความซับซ้อนเหล่านี้กำหนดหน้าที่ทางจริยธรรมให้กับนักวางแผนทางการเงินเพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าสูงอายุมีความเข้าใจทางการเงินที่เพียงพอ โดยหน้าที่ทางจริยธรรมเหล่านี้ควรใช้เมื่อ:
- พิจารณาความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์การลงทุน
- กำหนดระเบียบการหรือขั้นตอนในการให้คำแนะนำแก่ลูกค้าที่มีอายุมาก
- ให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าสูงวัยผ่านการสื่อสารที่เหมาะสม
- ตระหนักถึงและปกป้องลูกค้าสูงวัยจาก การฉ้อฉลและการล่วงละเมิดโดยสมาชิกในครอบครัว เพื่อน คนแปลกหน้า หรือมิจฉาชีพ